1.
“บุณฑริก หรือ ปุณฑริก” ชื่อสามัญเรียก บัวแหลมขาว ทรงดอกแหลมสีขาวถึงขาวอมเขียว กลีบดอกไม่ซ้อน บัวชนิดนี้มีน้อยกว่าชนิดแรก ลักษณะดอกตูมรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมคล้ายพันธุ์ดอกสีชมพู ความกว้างของดอกจะน้อยกว่าความยาว ดอกที่สมบูรณ์จะมีขนาดกว้างประมาณ 5 – 8 เซ็นติเมตร ยาวประมาณ 10 – 15 เซ็นติเมตร สีเขียวอ่อน เมื่อดอกบานกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีขาว มีเส้นที่กลีบดอกตามแนวยาวชัดเจน โคนของกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีความยืดหยุ่นพอ สมควร มีกลีบดอก 4 – 5 ชั้น จำนวน 14 – 16 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอมเย็น โคนกลีบดอกเป็นที่อยู่ของเกสรตัวผู้ก้านเกสรตัวผู้ยาวประมาณ 3 – 3.5 เซ็นติเมตร เกสรตัวเมียรวมกันเป็นฝักขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดบัว จำนวน 15 – 20 เมล็ด เมล็ดอ่อนจะมีลักษณะกลมยาว เมื่อเมล็ดแก่จะกลมมนขึ้น และผิวเมล็ดจะกลายเป็น สีดำหรือเกือบดำ เป็นที่น่าสังเกตว่าบัวชนิดนี้จะพบน้อย อาจเป็นเพราะมีเกสรตัวผู้น้อยและเกสร ตัวเมียน้อยกว่าบัวชนิดแรก ขึ้นได้ดีในระดับความลึกของน้ำประมาณ 15 – 60 เซ็นติเมตร
2. 
3.
สัตตบงกช ” บางทีเรียก บัวฉัตรแดง หรือ บัวป้อมแดง บัวหลวงสีชมพูดอกซ้อน มีชื่อละตินว่า Nelumbo nucifera ชื่อสามัญว่า Roseum plenum ดอกทรงป้อมสีชมพูถึงแดง กลีบดอกซ้อนมากกว่าบัวปทุม ใกล้ฝักจะมีกลีบสีขาวปนชมพูอยู่หลายชั้น เวลาดอกบานแล้วจะเห็นกลีบเล็ก ๆ สีขาวปนชมพูซ้อนอยู่ข้างใน ส่วนกลีบนอก ๆ ก็มีลักษณะเหมือนบัวหลวงทั่วไป บัวหลวงพันธุ์นี้ไม่ค่อยมีเมล็ด
4. บัวผัน – บัวเผื่อน Nymphaea capensis Thunb. และ Nymphaea stllata Willclenow. ใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ขอบใบจักถี่ ห่าง ไม่มีระเบียบ ดอกชูพ้นน้ำ บานกลางวัน พันธุ์พื้นเมืองมี 4 พันธุ์ คือ
5. บัวกระด้ง Victoria regia Lindl. หรือ N.amazonica Sowerby. มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้แถบลุ่มน้ำอะเมซอน ต้น-ใบ-ดอก ใหญ่มาก ใบใหญ่ยกขอบคล้ายกระด้ง มีหนามทั่วทั้งต้น มีพันธุ์เดียวที่ปลูกในประเทศไทย ดอกบานกลางคืน คืนแรกเป็นสีขาว คืนที่ 2 เป็นสีชมพู คืนที่ 3ดอกโรยเป็นสีม่วง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น